- พระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้ไว้ ณ วันใด
- ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ค. ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
- ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ง. ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
ตอบ ข.๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
- พระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด
- ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ค. ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๓
- ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ง. ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๓
ตอบ ค. ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๓
- ใครคือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
- ประธานศาลฎีกา ค. รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
- รองประธานศาลฎีกา ง. อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ตอบ ก. ประธานศาลฎีกา
- ศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญนี้มีกี่ชั้น
- 2 ชั้น ค. 3 ชั้น
- 6 ชั้น ง. 4 ชั้น
ตอบ ค. 3 ชั้น
มาตรา ๑ ศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญนี้มีสามชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์
และศาลฎีกา เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
- ข้อใด ไม่ใช่ ศาลยุติธรรมตามพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
- ศาลชั้นต้น ค. ศาลอาญา
- ศาลอุทธรณ์ ง. ศาลฏีกา
ตอบ ค. ศาลอาญา
- ข้อใด ไม่ใช่ ศาลชั้นต้น
- ศาลอุทธรณ์ภาค ค. ศาลอาญา
- ศาลแพ่ง ง. ศาลแขวง
ตอบ ก. ศาลอุทธรณ์ภาค
มาตรา ๒ ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น
- ข้อใดคือศาลอุทธรณ์
- ศาลอุทธรณ์และศาลจังหวัด ค. ศาลอุทธรณ์ภาคและศาลจังหวัด
- ศาลอุทธรณ์และศาลแขวง ง. ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค
ตอบ ง. ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค
มาตรา ๓ ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค
- ใครมีหน้าที่วางระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลยุติธรรม เพื่อให้กิจการของศาลยุติธรรมดำเนินไปโดยเรียบร้อยและเป็นระเบียบเดียวกัน
- เลขาธิการสำ นักงานศาลยุติธรรม
- เลขาธิการสำ นักงานศาลยุติธรรมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
- ประธานศาลฎีกา
- รองประธานศาลฎีกา
ตอบ ค. ประธานศาลฎีกา
มาตรา ๕๒ ให้ประธานศาลฎีกามีหน้าที่วางระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลยุติธรรม เพื่อให้กิจการของศาลยุติธรรมดำเนินไปโดยเรียบร้อยและเป็นระเบียบเดียวกัน และให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจให้คำแนะนำแก่ผู้พิพากษาในการปฏิบัติตามระเบียบวิธีการต่างๆ ที่กำหนดขึ้นโดยกฎหมายหรือโดยประการอื่นให้เป็นไปโดยถูกต้อง
- ใครมีอำนาจเสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้ง การยุบเลิก หรือการเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลของศาลยุติธรรมต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการ
- เลขาธิการสำ นักงานศาลยุติธรรม
- เลขาธิการสำ นักงานศาลยุติธรรมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
- ประธานศาลฎีกา
- รองประธานศาลฎีกา
ตอบ ข. เลขาธิการสำ นักงานศาลยุติธรรมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
มาตรา ๖ ให้เลขาธิการสำ นักงานศาลยุติธรรมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมมีอำนาจเสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้ง การยุบเลิก หรือการเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลของศาลยุติธรรมต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงจำนวน สภาพ สถานที่ตั้ง และเขตอำนาจศาลตามที่จำเป็นเพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนเป็นไปโดยเรียบร้อยตลอดราชอาณาจักร
- ใครเป็นผู้กำหนดจำนวนผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมให้เหมาะสมตามความจำเป็นแห่งราชการ
- รองประธานศาลฎีกา
- คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
- ประธานศาลฎีกา
- เลขาธิการสำ นักงานศาลยุติธรรมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
ตอบ ข. คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
มาตรา ๗ ให้คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดจำนวนผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมให้เหมาะสมตามความจำเป็นแห่งราชการ
- ในศาลจังหวัดหรือศาลแขวง มีผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ศาลละกี่คน
- 1 คน ค. 3 คน
- 2 คน ง. 4 คน
ตอบ ก. 1 คน
มาตรา ๙ ในศาลจังหวัดหรือศาลแขวง ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ศาลละหนึ่งคน
- ข้อใดคืออำนาจหน้าที่ของประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค
อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
- นั่งพิจารณาและพิพากษาคดีใดๆ ของศาลนั้น หรือเมื่อได้ตรวจสำนวนคดีใดแล้วมีอำนาจทำความเห็นแย้งได้
- ให้คำแนะนำแก่ผู้พิพากษาในศาลนั้นในข้อขัดข้องเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา
- สั่งคำร้องคำขอต่างๆ ที่ยื่นต่อตนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ
- ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
มาตรา ๑๑ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาคอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ต้องรับผิดชอบในราชการของศาลให้เป็นไปโดยเรียบร้อย และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) นั่งพิจารณาและพิพากษาคดีใดๆ ของศาลนั้น หรือเมื่อได้ตรวจสำนวนคดีใดแล้วมีอำนาจทำความเห็นแย้งได้
(๒) สั่งคำร้องคำขอต่างๆ ที่ยื่นต่อตนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ
(๓) ระมัดระวังการใช้ระเบียบวิธีการต่างๆ ที่กำหนดขึ้นโดยกฎหมายหรือโดยประการอื่นให้เป็นไปโดยถูกต้อง เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จเด็ดขาดไปโดยเร็ว
(๔) ให้คำแนะนำแก่ผู้พิพากษาในศาลนั้นในข้อขัดข้องเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา
(๕) ร่วมมือกับเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในบรรดากิจการอันเกี่ยวกับการจัดวางระเบียบและการดำเนินการงานส่วนธุรการของศาล
(๖) ทำรายงานการคดีและกิจการของศาลส่งตามระเบียบ
(๗) มีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
- ห้ามมิให้ศาลยุติธรรมศาลใดศาลหนึ่งรับคดีซึ่งศาลยุติธรรมอื่นได้สั่งรับประทับฟ้องโดยชอบแล้วไว้พิจารณาพิพากษา เว้นแต่คดีนั้นจะได้โอนมาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ถูกกล่าวไว้ในมาตราใด
- มาตรา 10 ค. มาตรา 17
- มาตรา 15 ง. มาตรา 8
ตอบ ข. มาตรา 15
- ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลชั้นต้นเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ให้ตราเป็นกฎหมายใด
- พระราชบัญญัติ ค. ประกาศกระทรวง
- กฎกระทรวง ง. พระราชกฤษฎีกา
ตอบ ง. พระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๑๖๖ ศาลชั้นต้นมีเขตตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
- ศาลใดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอำนาจทำการไต่สวนหรือมีคำสั่งใดๆ
- ศาลแขวง ค. ศาลแพ่ง
- ศาลจังหวัด ง. ศาลอาญา
ตอบ ก. ศาลแขวง
มาตรา ๑๗ ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอำนาจทำการไต่สวนหรือมีคำสั่งใดๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๕
วรรคหนึ่ง