- พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 คือปี พ.ศ.ใด
- พ.ศ. 2540 ค. พ.ศ. 2535
- พ.ศ. 2532 ง. พ.ศ. 2537
ตอบ ข. พ.ศ. 2532
- พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พ.ศ. 2532 ให้ไว้ ณ วันใด
- 14 มกราคม พ.ศ. 2532 ค. 15 มกราคม พ.ศ. 2532
- 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ง. 16 มกราคม พ.ศ. 2532
ตอบ ก. 14 มกราคม พ.ศ. 2532
- พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พ.ศ. 2532 ให้ยกเลิกความในมาตราใดแห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
- มาตรา 20 ค. มาตรา 29
- มาตรา 26 ง. มาตรา 30
ตอบ ง. มาตรา 30
- พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พ.ศ. 2532 มีกี่มาตรา
- 10 มาตรา ค. 3 มาตรา
- 5 มาตรา ง. 12 มาตรา
ตอบ ค. 3 มาตรา
- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พ.ศ. 2532 คือใคร
- อานันท์ ปันยารชุน ค. พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
- พลเอก สุจินดา คราประยูร ง. พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ตอบ ค. พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
- พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ให้ไว้ ณ วันใด
- 19 กันยายน 2504 ค. 21 กันยายน 2504
- 20 กันยายน 2504 ง. 22 กันยายน 2504
ตอบ ง. 22 กันยายน 2504
- พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มีผลบังคับใช้เมื่อใด
- วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
- หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 90 วัน
- หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 120 วัน
- หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 180 วัน
ตอบ ก. วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
- พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มีกี่มาตรา
- 4 หมวด 35 มาตรา ค. 5 หมวด 35 มาตรา
- 5 หมวด 30 มาตรา ง. 5 หมวด 40 มาตรา
ตอบ ข. 5 หมวด 30 มาตรา
- ข้อใดคือเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พ.ศ. 2532
- เพื่อคุ้มครองรักษาทรัพยากร ธรรมชาติที่มีอยู่
- เพื่ออำนวยประโยชน์ทั้งทางตรงและทรงอ้อมแก่รัฐและประชาชนสืบไป
- มีบทบัญญัติกำหนดให้สิทธิการทำกิจการที่ได้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ต้องสิ้นสุดลงหากพื้นที่สัมปทานเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ
- ถูกทั้ง ก และ ข
ตอบ ค. มีบทบัญญัติกำหนดให้สิทธิการทำกิจการที่ได้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ต้องสิ้นสุดลงหากพื้นที่สัมปทานเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 คือ เพื่อคุ้มครองรักษาทรัพยากร ธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น พันธุ์ไม้และของป่า สัตว์ป่า ตลอดจนทิวทัศน์ ป่าและภูเขา ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่ออำนวยประโยชน์ทั้งทางตรงและทรงอ้อมแก่รัฐและประชาชนสืบไป
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พ.ศ. 2532 คือ โดย ที่มาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้กำหนดให้สัมปทาน อาชญาบัตร ประทานบัตร และใบอนุญาตที่ทางราชการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ตามกฎหมายต่างๆ ซึ่งออกให้แก่บุคคลใดไว้แล้วก่อนที่จะมีการกำหนดเป็นเขตอุทยานแห่งชาติใน พื้นที่ที่อนุญาตดังกล่าว ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปตราบเท่าอายุของสัมปทาน อาชญาบัตร ประทานบัตร หรือใบอนุญาตนั้นๆ แต่เนื่องจากได้มีการตราพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ พ.ศ. ๒๕๓๒ และได้มีบทบัญญัติกำหนดให้สิทธิการทำกิจการที่ได้รับสัมปทานตามกฎหมายว่า ด้วยป่าไม้ต้องสิ้นสุดลงหากพื้นที่สัมปทานเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ สมควรแก้ไขมาตรา ๓๐ ดังกล่าว ให้สอดคล้องกับการแก้ไขพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๕๐๔ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันที่จะรักษาความปลอดภัย สาธารณะ และเพื่อป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้
- “สัตว์” หมายความว่าอย่างไร
- สัตว์ทุกชนิดตลอดจนส่วนต่างๆ ของสัตว์ ค. สิ่งที่สัตว์ทำขึ้น
- สิ่งที่เกิดจากสัตว์ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
“สัตว์” หมายความถึงสัตว์ทุกชนิด ตลอดจนส่วนต่างๆ ของสัตว์ สิ่งที่เกิดจากสัตว์ และสิ่งที่สัตว์ทำขึ้น
- ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
- อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตอบ ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม*รักษาการตามพระ ราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ และออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
- เมื่อ รัฐบาลเห็นสมควรกำหนดบริเวณที่ดินแห่งใดที่มีสภาพธรรมชาติเป็นที่น่าสนใจ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมเพื่อสงวนไว้ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและ รื่นรมย์ของประชาชน ก็ให้มีอำนาจกระทำได้โดยประกาศเป็นกฎหมายใด
- พระราชกฤษฎีกา ค. กฏกระทรวง
- พระราชกำหนด ง. ประกาศกระทรวง
ตอบ ก. พระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๖ เมื่อรัฐบาลเห็นสมควรกำหนดบริเวณที่ดินแห่งใดที่มีสภาพธรรมชาติเป็นที่น่า สนใจ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมเพื่อสงวนไว้ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและ รื่นรมย์ของประชาชน ก็ให้มีอำนาจกระทำได้โดยประกาศพระราชกฤษฎีกาและให้มีแผนที่แสดงแนวเขต แห่งบริเวณที่กำหนดนั้นแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย บริเวณที่กำหนดนี้เรียกว่า “อุทยานแห่งชาติ”
- การขยายหรือการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้กระทำโดยกฎหมายใด
- พระราชกฤษฎีกา ค. กฏกระทรวง
- พระราชกำหนด ง. ประกาศกระทรวง
ตอบ ก. พระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๗ การขยายหรือการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา และในกรณีที่มิใช่เป็นการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติทั้งหมด ให้มีแผนที่แสดงเขตที่เปลี่ยนแปลงไปแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย
- คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ อยู่ในหมวดใดพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
- หมวดที่ 2 ค. หมวดที่ 4
- หมวดที่ 3 ง. หมวดที่ 5
ตอบ ก. หมวดที่ 2
- ใครเป็นประธานใน “คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ”
- อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
ตอบ ข. ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มาตรา ๙ ให้มีกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ”ประกอบด้วยปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม* เป็นประธาน อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช*ผู้แทนกรมมหาดไทย ผู้แทนกรมที่ดิน และกรรมการอื่นไม่เกินสิบเอ็ดคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง