- พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด
- 19 สิงหาคม 2476 ค. 19 กันยายน 2476
- 20 สิงหาคม 2476 ง. 20 กันยายน 2476
ตอบ ข. 20 สิงหาคม 2476
- วินัยทหาร คือ
- การที่ทหารควรประพฤติตามแบบธรรมเนียมของทหาร
- การที่ทหารต้องประพฤติตามแบบธรรมเนียมของทหาร
- การที่ทหารควรประพฤติปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมของทหาร
- การที่ทหารต้องประพฤติปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมของทหาร
ตอบ ข. การที่ทหารต้องประพฤติตามแบบธรรมเนียมของทหาร
- วินัยเป็นหลักสำคัญที่สุดสำหรับทหาร เพราะฉะนั้นทหารทุกคนจักต้องรักษาโดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ผู้ใดฝ่าฝืนท่านให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิด อยู่ในมาตราใดของพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖
- มาตรา 3 ค. มาตรา 5
- มาตรา 4 ง. มาตรา 6
ตอบ ค. มาตรา 5
- ข้อใดคือการกระทำผิดวินัยทหาร
- กล่าวคำเท็จ
- เกียจคร้าน ละทิ้ง หรือเลินเล่อต่อหน้าที่ราชการ
- ดื้อ ขัดขืน หลีกเลี่ยง หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเหนือตน
- ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ ตัวอย่างการกระทำผิดวินัยทหารมีดังต่อไปนี้
(๑) ดื้อ ขัดขืน หลีกเลี่ยง หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเหนือตน
(๒) ไม่รักษาระเบียบการเคารพระหว่างผู้ใหญ่ผู้น้อย
(๓) ไม่รักษามรรยาทให้ถูกต้องตามแบบธรรมเนียมของทหาร
(๔) ก่อให้แตกความสามัคคีในคณะทหาร
(๕) เกียจคร้าน ละทิ้ง หรือเลินเล่อต่อหน้าที่ราชการ
(๖) กล่าวคำเท็จ
(๗) ใช้กิริยาวาจาไม่สมควร หรือประพฤติไม่สมควร
(๘) ไม่ตักเตือนสั่งสอน หรือลงทัณฑ์ผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำผิดตามโทษานุโทษ
(๙) เสพเครื่องดองของเมาจนถึงเสียกิริยา
- หมวด ๓ ในพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖ คือเรื่องใด
- บทเบ็ดเสร็จทั่วไป ค. วิธีร้องทุกข์
- ว่าด้วยวินัย ง. อำนาจลงทัณฑ
ตอบ ง. อำนาจลงทัณฑ
หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
หมวด 2 ว่าด้วยวินัย
หมวด 3 อำนาจลงทัณฑ
หมวด 4 วิธีร้องทุกข์
- ทัณฑ์ที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารมีกี่สถาน
- 5 สถาน ค. 3 สถาน
- 4 สถาน ง. 6 สถาน
ตอบ ก. 5 สถาน
มาตรา ๘ ทัณฑ์ที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารมี ๕ สถาน คือ
(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ทัณฑกรรม
(๓) กัก
(๔) ขัง
(๕) จำขัง
- ข้อใด ไม่ใช่ โทษทางวินัยทหาร
- ภาคทัณฑ์ ค. จำขัง
- จำคุก ง. ทัณฑกรรม
ตอบ ง. ทัณฑกรรม
- ผู้กระทำผิดมีความผิดอันควรต้องรับทัณฑ์สถานหนึ่งสถานใดดังกล่าวมาแล้ว แต่มีเหตุอันควรปราณี จึงเป็นแต่แสดงความผิดของผู้นั้นให้ปรากฏหรือให้ทำทัณฑ์บนไว้ คือความหมายของโทษตามข้อใด
- ภาคทัณฑ์ ค. กัก
- ทัณฑกรรม ง. จำขัง
ตอบ ก. ภาคทัณฑ์
- กระทำการสุขา การโยธา ฯลฯ เพิ่มจากหน้าที่ประจำซึ่งตนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว หรือปรับให้อยู่เวรยาม นอกจากหน้าที่ประจำ คือความหมายของโทษตามข้อใด
- ภาคทัณฑ์ ค. กัก
- ทัณฑกรรม ง. จำขัง
ตอบ ข. ทัณฑกรรม
- กักตัวไว้ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งตามแต่จะกำหนดให้ คือความหมายของโทษตามข้อใด
- กัก ค. ขัง
- ทัณฑกรรม ง. จำขัง
ตอบ ก. กัก
- ขังในที่ควบคุมแต่เฉพาะคนเดียวหรือรวมกันหลายคนแล้วแต่จะได้มีคำสั่ง คือความหมายของโทษตามข้อใด
- กัก ค. ขัง
- ทัณฑกรรม ง. จำขัง
ตอบ ค. ขัง
- คือขังโดยส่งไปฝากให้อยู่ในความควบคุมของเรือนจำทหาร คือความหมายของโทษตามข้อใด
- กัก ค. ขัง
- ทัณฑกรรม ง. จำขัง
ตอบ ง. จำขัง
- ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาซึ่งลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำผิดได้นั้น คือใคร
- ผู้บังคับบัญชา
- ผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจให้บังคับบัญชาตามที่กระทรวงกลาโหมกำหน
- ผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจให้บังคับบัญชาตามที่ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม กองทัพบก กองทัพเรือ หรือกองทัพอากาศ กำหนด
- ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
- ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาเป็นผู้ลงทัณฑ์ชั้น 1 คือใคร
ก. แม่ทัพ ค. ผู้บัญชาการกองพล
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ง. ผู้บังคับการกรม
ตอบ ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาเป็นผู้ลงทัณฑ์ชั้น 2 คือใคร
ก. แม่ทัพ ค. ผู้บัญชาการกองพล
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ง. ผู้บังคับการกรม
ตอบ ก. แม่ทัพ
- ผู้ใด ไม่มี อำนาจบังคับบัญชาเป็นผู้ลงทัณฑ์
ก. ผู้บังคับหมวด ค. นายทหารชั้นสัญญาบัตร
ข. ผู้บังคับหมู่ นายตอน ง. ถูกทั้ง ข และ ค
ตอบ ง. ถูกทั้ง ข และ ค ผู้ที่ไม่มีอำนาจเป็นผู้ลงทัณฑ์ชั้นต่างๆ ได้แก่
- ผู้บังคับหมู่ นายตอน
- นักเรียนทหารซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร บุคคลผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างเข้ารับการฝึกวิชาทหารโดยคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร
- นักเรียนทหารซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็นนายทหารประทวนลูกแถว
- ผู้มีอำนาจลงทัณฑ์จะสั่งลงทัณฑ์โดยอำนาจตนเองมิได้ถ้าผู้มีอำนาจลงทัณฑ์มิได้จัดการที่จะให้ผู้นั้นได้รับทัณฑ์ภายในกี่เดือน
- 1 เดือน ค. 3 เดือน
- 2 เดือน ง. 4 เดือน
ตอบ ค. 3 เดือน
- คำชี้แจงของทหารว่า ผู้บังคับบัญชากระทำแก่ตนด้วยการอันไม่เป็นยุติธรรม หรือผิดกฎหมาย หรือแบบธรรมเนียมทหารว่าตนมิได้รับผลประโยชน์หรือสิทธิตามที่ควรจะได้รับในราชการนั้น เรียกว่า
- ร้องทุกข์ ค. ร้องเรียน
- อุทธรณ์ ง. ถูกทั้ง ก และ ข
ตอบ ก. ร้องทุกข์
- ข้อใด กล่าวถูกต้อง เกี่ยวกับการร้องทุกข์ของทหาร
ก.ห้ามมิให้ลงชื่อรวมกัน
ข. ทหารจะร้องทุกข์ได้แต่สำหรับตนเองเท่านั้น
ค. ห้ามมิให้ประชุมกันเพื่อหารือเรื่องจะร้องทุกข์
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ มาตรา ๒๓ ทหารจะร้องทุกข์ได้แต่สำหรับตนเองเท่านั้น ห้ามมิให้ร้องทุกข์แทนผู้อื่นเป็นอันขาด และห้ามมิให้ลงชื่อรวมกัน หรือเข้ามาร้องทุกข์พร้อมกันหลายคน และห้ามมิให้ประชุมกันเพื่อหารือเรื่องจะร้องทุกข์
- มาตรา ๒๔ ห้ามมิให้ร้องทุกข์ในกรณีใด
- ห้ามมิให้ร้องทุกข์ในเวลาที่ตนกำลังเข้าแถว
- ห้ามมิให้ร้องทุกข์ในขณะที่กำลังทำหน้าที่เป็นยามหรือเวร
- ห้ามมิให้ร้องทุกข์ก่อนเวลาล่วงไปแล้ว 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่ที่มีเหตุจะต้องร้องทุกข์เกิดขึ้น
- ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
- การร้องทุกข์กระทำได้โดยวิธีใด
- ด้วยวาจา ค. ถูกเฉพาะข้อ ข
- เขียนเป็นหนังสือ ง. ถูกทั้ง ก และ ข
ตอบ ง. ถูกทั้ง ก และ ข
- การร้องทุกข์โดยห้ามมิให้ร้องทุกข์ว่า ผู้บังคับบัญชาลงทัณฑ์แรงเกินไปอยู่ในมาตราใด
- มาตรา 24 ค. มาตรา 26
- มาตรา 25 ง. มาตรา 27
ตอบ ข. มาตรา 25 มาตรา ๒๕ ห้ามมิให้ร้องทุกข์ว่า ผู้บังคับบัญชาลงทัณฑ์แรงเกินไป ถ้าหากว่า
ผู้บังคับบัญชานั้นมิได้ลงทัณฑ์เกินอำนาจที่จะทำได้ตามความในหมวด ๓ แห่งพระราชบัญญัตินี้
- เมื่อผู้ใดได้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาและยังไม่ได้รับความชี้แจงประการใด ทั้งความเดือดร้อนก็ยังไม่ได้ปลดเปลื้องไป ให้ร้องทุกข์ใหม่ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นที่สูงถัดขึ้นไปในกรณีที่เวลาล่วงพ้นแล้วเท่าใด
ก. 7 วัน ค. 15 วัน
ข. 10 วัน ง. 1 เดือน
ตอบ ค. 15 วัน
- ใครเป็นผู้ให้มีหน้าที่รักษาการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖
- นายกรัฐมนตรี ค. รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ง. รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม
ตอบ ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือข้อใด
- การประกาศใช้มาเป็นเวลานาน
- ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาทหารซึ่งมีอำนาจลงทัณฑ์เปลี่ยนแปลงไปมาก
- ตำแหน่งผู้รับทัณฑ์เปลี่ยนแปลงไปมาก
- ถูกทุกข้อ
ตอบ ถูกทุกข้อ